More Website Templates at TemplateMonster.com!
 


รายละเอียด

คลินิกแพทย์ทางเลือก(ฝังเข็ม)ACUPUNCTURE

          การฝังเข็ม  เป็นศาสตร์การรักษาของแพทย์แผนจีน ที่มีพัฒนาการมานานกว่า 5,000 ปี โดยทฤษฏีพื้นฐานที่สำคัญ เชื่อว่า เส้นลมปราณ เป็นเส้นทางไหลเวียน ของพลัง และเลือด ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆทุกพื้นที่ของร่างกาย เชื่อมโยงให้อวัยวะต่างๆทำงานได้อย่างสมดุล 

         ดังนั้น การแทงเข็มลงไปบนจุดฝังเข็มตามร่างกายตามระบบเส้นลมปราณ จะทำให้เลือดและลมปราณไหลเวียนได้ดีขึ้น  ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลย์ของร่างกายที่เจ็บป่วย นอกจากนี้ การฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เอนดอร์ฟิน ซึ่งช่วยระงับอาการปวดและมีสารบางอย่างที่ไปช่วยลดอาการอักเสบได้ด้วย อีกทั้งยังเพิ่มการไหลเวียน  ของเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณที่มีการอักเสบนั้นๆ

ตามแนวคิดของการแพทย์แผนโบราณจีน

การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค 3 ประการ คือ

         1. แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด
         2. ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสมดุล
         3. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย

วิธีการฝังเข็ม    

        ใช้เข็มสแตนเลสที่มีขนาดเล็ก ไม่กลวง ปลายเข็มไม่ตัด เป็นเข็มพิเศษที่ผลิตเพื่อการฝังเข็มโดยเฉพาะ มีหลายขนาด สะอาดปราศจากเชื้อ ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้อีกโดยเด็ดขาด   ปักลงในตำแหน่งจุดต่างๆของร่างกาย แล้วกระตุ้นโดยใช้นิ้วมือหมุนปั่น หรือใช้เครื่องไฟฟ้าหมุนกระตุ้นโวลต์ต่ำ  ใช้เวลาประมาณ 20 นาที แล้วจึงถอนออก

การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า

        หลังจากที่ฝังเข็มแล้ว ใช้สายไฟเชื่อมต่อกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดพิเศษโดยเฉพาะ เป็นกระแสไฟฟ้าตรงประมาณ 9 โวลท์ จึงไม่สามารถทำให้เกิดไฟดูดได้ แต่จะรู้สึกกระตุ้นที่กล้ามเนื้อเป็นจังหวะ แรงพอทนได้ ทำให้เข็มกระดิกเป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้า และไม่ทำให้เจ็บปวดจนทนไม่ได้

ระยะเวลา

         ฝังเข็มสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลานานประมาณ 30 นาที และจะต้องมารับบริการฝังเข็ม อย่างน้อย 10 ครั้ง หรือ แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์

โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม

   1.ฝังเข็มรักษาโรค
         -อัมพาต  อัมพฤกษ์  แขน-ขา  อ่อนแรง
         -ปวดศีรษะ จากความเครียด ไมเกรน
         -นอนไม่หลับ  เครียด  วิตกกังวล  อัมพาตใบหน้าครึ่งซีก
         -โรคกล้ามเนื้อ เอ็น,  ข้อกระดูกและปลายประสาทชา, ชาปลายมือปลายเท้า, ตะคริว, ปวดหลัง, ปวดหัวเข่า, เข่าบวม, ข้อเข่าเสื่อม, ข้อเข่าพลิก , หมอนรองกระดูกทับปลายประสาทเท้า
         -โรคภูมิแพ้  แพ้ท้อง, อาเจียน,โรคกระเพาะ
         -เบาหวานที่มีอาการ ชาปลายมือปลายเท้า
         -ลดความอ้วน  และเพิ่มน้ำหนัก 
         -โรคสูติ-นรีเวช  ปวดประจำเดือน, ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช้า เร็ว มาไม่แน่นอน
         -วัยทองในสตรี   โรคผิวหนัง งูสวัด

     2. ฝังเข็ม เพื่อความงาม
ลบรอยตีนกา    ฝ้า  กระ สิว 

    3.โรคอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป

ข้อห้ามในการฝังเข็ม

         

         •สตรีตั้งครรภ์
         •โรคมะเร็ง(ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
         •โรคหลอดเลือดที่มีการผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
         •โรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน
         •ทารก เด็กเล็ก
         •ผู้ป่วยโรคจิตที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้-ผู้ป่วยที่หวาดกลัว และตื่นเต้นต่อการรักษาจนควบคุมไม่ได้ หรือ กลัวเข็มมาก
         •โรคที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยแน่นอน
         •ผู้ป่วยที่ทานยาละลายลิ่มเลือด
         •ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (pacemaker)


การเตรียมตัวเมื่อมาฝังเข็ม

         •อาบน้ำชำระร่างกายก่อนมาฝังเข็ม
         •รับประทานอาหารตามปกติ
         •พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
         •ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป
         •ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด

การให้บริการ

เปิดบริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.30 น.- 12.00 น.
ยกเว้นวันหยุด นักขัตฤกษ์
เบอร์โทรศัพท์ 044-305131 ต่อ 227

อัตราค่าบริการ

         เบิกได้ตามสิทธิ สำหรับ ผู้มีสิทธิเบิกได้ และ ผู้ใช้สิทธิประกันสังคมเหมาจ่าย 350 บาท สำหรับผู้รับบริการที่ชำระเงินเอง

>>ดาวน์โหลดเอกสารและรายละเอียดเพิ่มเติมทั้งหมด<<